เซียนหนึ่ง เชียงใหม่ (ทีปอุทัย แสนกาศ) รู้ลึกเรื่อง พระรอด
พระรอดเมืองลำพูนขึ้นชื่อทุกยุคทุกสมัย "เซียนหนึ่ง" หรือ "ทีปอุทัย แสนกาศ" รองประธานชมรมพระเครื่องจังหวัดเชียงใหม่ บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของพระรอดเมือง ลำพูนว่า ครอบ ครัวตนมีเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนในอดีต มีช่วงหนึ่งในอดีต เจ้าหลวงอินทยงยศ ได้เปิดกรุพระรอดที่วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน พบพระรอดในกรุพระเจดีย์จำนวนมาก หลายร้อยองค์ มีทั้งพิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง และพิมพ์ใหญ่ จำนวนมากประมาณ 1 กระเช้าบาตร
"กระทั่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงรุ่นของผม ต่อมาเครือญาติได้แบ่งพระรอดกันไปตามสัดส่วน ซึ่งผมมีไว้จำนวนหนึ่ง ขณะนี้รักษาไว้ในเซฟของธนาคาร"
เซียนหนึ่งบอกว่า แขวนพระรอดมาตั้งแต่เด็ก เพราะถือว่าเป็นพระเครื่องของ ครอบครัวมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ตามความเชื่อคือ จะช่วยให้ผู้ที่มีพระรอดไว้กับตัว อยู่รอดปลอดภัยจากภัยอันตรายต่างๆ รวมทั้งช่วยแก้คุณไสยด้วย
"พระรอดจะเหมือนพระสมเด็จอยู่ อย่างหนึ่ง คือ ทุกคนจะมองว่าเป็นพระเครื่องในฝัน พระรอดเป็นพระเครื่องที่ องค์เล็ก ดังนั้น พระรอดของแท้ของเก่า จะต้องมีจำนวนมาก เพราะขนาดเล็กตามหลักการและธรรมชาติ เมื่อมีขนาดเล็กจะต้องสร้างขึ้นมาจำนวนมากเป็นพิเศษอย่างแน่นอน"
เซียนหนึ่งบอกต่อว่า พระรอดต้องมองรายละเอียดให้มาก เพราะเป็นพระเครื่องที่ องค์เล็ก ลายเส้น หรือพิมพ์อาจจะมองเห็นได้ชัดเจน จะแท้หรือเก๊ ต้องดูที่เนื้อองค์พระ จะมีเอกลักษณ์ คือ มีจุดดำๆ เล็กๆ จำนวนมากเป็นพิเศษ บางองค์เล็กมากจนเป็นไมโคร เนื้อดินกับหินจะคาบเกี่ยวกัน หากเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงของสีเขียวหินครกกับสีดินเหนียวก็ต้องมองให้ออก ถามว่ามีเนื้อคาบเกี่ยวกันแบบนี้มีผู้ทำปลอมหรือไม่นั้น ยอมรับว่ายังมีอยู่ แต่ทำได้ไม่เหมือน สำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญในการดูพระรอดในประเทศไทยมีหลายท่าน แต่ไม่น่าเกิน 5 ท่าน
ดังนั้น การส่องดูพระรอดหลายคนอาจจะมีความเห็นว่าดูพระรอดนั้นดูยาก แต่ตนเห็นว่า พระรอดจะดูไม่ยาก เพราะอายุของพระรอดมีมาก หากจะปลอมอย่างไรก็ไม่เหมือนของแท้ ซึ่งความเห็นส่วนตัว หากหลายท่านต้องการพระรอดไม่ต้องออกตามหา หากท่านใดประกอบอาชีพแล้วกิจการหรือหน้าที่การงานเริ่มก้าวหน้า พระรอดจะช่วยหนุน
"ประสบการณ์พบมาแล้ว คือ ผมเปิดร้านขายเพชรอยู่ตามปกติ ขณะที่วงการพระเครื่องภาคเหนือ ทราบดีว่ามีพระรอด ซึ่งผมไม่เคยให้ใครได้เห็นและหลายสิบปีที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีใครมาขอเช่าบูชา แต่เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมามีลูกค้า 2 คนมาหา บอกจะขอบูชาพระรอดของผม เมื่อกล้าขอ ผมก็กล้าให้ คนแรกบูชาพระรอดไปองค์ละ 3.5 ล้านบาท อีกคนบูชาองค์ละ 4.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงที่ผมกำลังทำธุรกิจด้านต่างๆ ก้าวหน้าพอดี"
สุดท้ายนี้ เซียนหนึ่งกล่าวฝากไว้ว่า การที่มีพระเครื่องและวัตถุมงคล หรือวัตถุมงคลที่ เคารพนับถือนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่บ่งบอกไว้ว่าให้ทุกคนไม่ยึดติด มีวัตถุมงคลไว้ก็เพื่อเตือนว่าเราควรจะทำอะไร มีพระไว้กับตัวเพื่อต้องการให้ทุกคนทำความดีก่อนเป็นหลักสำคัญ มีพระไว้ที่คอแล้วไม่ควรที่จะฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจะดีมาก ดังนั้น ภาษาพระบอกไว้ว่า สัมมาทิฏฐิ คือทำอะไรก็ต้องมีสติ" รองประธานชมรมพระเครื่องจังหวัดเชียงใหม่กล่าว
สำหรับผู้สนใจปรึกษาเรื่องพระรอดเมืองลำพูน แวะไปหา "เซียนหนึ่ง" หรือ นายทีปอุทัย แสนกาศ ได้ที่ร้านเพชรวอชิงตัน ไดมอนด์ ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หรือที่ร้านเพชรเบลเยี่ยม ฟาย ไดมอนด์ ตลาดรวมโชค อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้ทุกวัน
มองอย่างเซียน
วิชัย ทาเปรียว
พระรอดเมืองลำพูนขึ้นชื่อทุกยุคทุกสมัย "เซียนหนึ่ง" หรือ "ทีปอุทัย แสนกาศ" รองประธานชมรมพระเครื่องจังหวัดเชียงใหม่ บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของพระรอดเมือง ลำพูนว่า ครอบ ครัวตนมีเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนในอดีต มีช่วงหนึ่งในอดีต เจ้าหลวงอินทยงยศ ได้เปิดกรุพระรอดที่วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน พบพระรอดในกรุพระเจดีย์จำนวนมาก หลายร้อยองค์ มีทั้งพิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง และพิมพ์ใหญ่ จำนวนมากประมาณ 1 กระเช้าบาตร
"กระทั่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงรุ่นของผม ต่อมาเครือญาติได้แบ่งพระรอดกันไปตามสัดส่วน ซึ่งผมมีไว้จำนวนหนึ่ง ขณะนี้รักษาไว้ในเซฟของธนาคาร"
เซียนหนึ่งบอกว่า แขวนพระรอดมาตั้งแต่เด็ก เพราะถือว่าเป็นพระเครื่องของ ครอบครัวมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ตามความเชื่อคือ จะช่วยให้ผู้ที่มีพระรอดไว้กับตัว อยู่รอดปลอดภัยจากภัยอันตรายต่างๆ รวมทั้งช่วยแก้คุณไสยด้วย
"พระรอดจะเหมือนพระสมเด็จอยู่ อย่างหนึ่ง คือ ทุกคนจะมองว่าเป็นพระเครื่องในฝัน พระรอดเป็นพระเครื่องที่ องค์เล็ก ดังนั้น พระรอดของแท้ของเก่า จะต้องมีจำนวนมาก เพราะขนาดเล็กตามหลักการและธรรมชาติ เมื่อมีขนาดเล็กจะต้องสร้างขึ้นมาจำนวนมากเป็นพิเศษอย่างแน่นอน"
เซียนหนึ่งบอกต่อว่า พระรอดต้องมองรายละเอียดให้มาก เพราะเป็นพระเครื่องที่ องค์เล็ก ลายเส้น หรือพิมพ์อาจจะมองเห็นได้ชัดเจน จะแท้หรือเก๊ ต้องดูที่เนื้อองค์พระ จะมีเอกลักษณ์ คือ มีจุดดำๆ เล็กๆ จำนวนมากเป็นพิเศษ บางองค์เล็กมากจนเป็นไมโคร เนื้อดินกับหินจะคาบเกี่ยวกัน หากเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงของสีเขียวหินครกกับสีดินเหนียวก็ต้องมองให้ออก ถามว่ามีเนื้อคาบเกี่ยวกันแบบนี้มีผู้ทำปลอมหรือไม่นั้น ยอมรับว่ายังมีอยู่ แต่ทำได้ไม่เหมือน สำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญในการดูพระรอดในประเทศไทยมีหลายท่าน แต่ไม่น่าเกิน 5 ท่าน
ดังนั้น การส่องดูพระรอดหลายคนอาจจะมีความเห็นว่าดูพระรอดนั้นดูยาก แต่ตนเห็นว่า พระรอดจะดูไม่ยาก เพราะอายุของพระรอดมีมาก หากจะปลอมอย่างไรก็ไม่เหมือนของแท้ ซึ่งความเห็นส่วนตัว หากหลายท่านต้องการพระรอดไม่ต้องออกตามหา หากท่านใดประกอบอาชีพแล้วกิจการหรือหน้าที่การงานเริ่มก้าวหน้า พระรอดจะช่วยหนุน
"ประสบการณ์พบมาแล้ว คือ ผมเปิดร้านขายเพชรอยู่ตามปกติ ขณะที่วงการพระเครื่องภาคเหนือ ทราบดีว่ามีพระรอด ซึ่งผมไม่เคยให้ใครได้เห็นและหลายสิบปีที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีใครมาขอเช่าบูชา แต่เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมามีลูกค้า 2 คนมาหา บอกจะขอบูชาพระรอดของผม เมื่อกล้าขอ ผมก็กล้าให้ คนแรกบูชาพระรอดไปองค์ละ 3.5 ล้านบาท อีกคนบูชาองค์ละ 4.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงที่ผมกำลังทำธุรกิจด้านต่างๆ ก้าวหน้าพอดี"
สุดท้ายนี้ เซียนหนึ่งกล่าวฝากไว้ว่า การที่มีพระเครื่องและวัตถุมงคล หรือวัตถุมงคลที่ เคารพนับถือนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่บ่งบอกไว้ว่าให้ทุกคนไม่ยึดติด มีวัตถุมงคลไว้ก็เพื่อเตือนว่าเราควรจะทำอะไร มีพระไว้กับตัวเพื่อต้องการให้ทุกคนทำความดีก่อนเป็นหลักสำคัญ มีพระไว้ที่คอแล้วไม่ควรที่จะฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจะดีมาก ดังนั้น ภาษาพระบอกไว้ว่า สัมมาทิฏฐิ คือทำอะไรก็ต้องมีสติ" รองประธานชมรมพระเครื่องจังหวัดเชียงใหม่กล่าว
สำหรับผู้สนใจปรึกษาเรื่องพระรอดเมืองลำพูน แวะไปหา "เซียนหนึ่ง" หรือ นายทีปอุทัย แสนกาศ ได้ที่ร้านเพชรวอชิงตัน ไดมอนด์ ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หรือที่ร้านเพชรเบลเยี่ยม ฟาย ไดมอนด์ ตลาดรวมโชค อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้ทุกวัน
มองอย่างเซียน
วิชัย ทาเปรียว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น