มาทำความรู้จัก เซียนจิ๋ว จุฬามณี ศูนย์พระเครื่องจุฬามณี
"จิ๋ว จุฬามณี" เซียนพระนักสะสมพระเครื่องตัวจริง และนักธุรกิจจิวเวลรี่ ปัจจุบันเป็น เซียนพระควบคู่กันไป
เซียนจิ๋ว บอกเล่าว่า "จุดเริ่มต้นของผมในวงการพระเครื่อง คือ ย้อนไปประมาณปี"28 ตอนนั้นเรียนอยู่อำนวยศิลป์ ม.6 ผมก็เริ่ม เช่าเก็บแล้ว องค์แรก คือ หลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส แม้ผมจะชอบ แต่ก็ดูไม่เป็น แต่อาศัยอ่านจากหนังสือตำราต่างๆ จากนั้นก็เอาไปให้คนที่เป็นพระเครื่องดูเค้าก็บอกว่าแท้... เราก็รู้สึกดีก็เก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ"
"ตอนแรกผมไม่ใช่นักเล่นพระ "ผมเป็นนักสะสมพระเครื่อง" หลังจากที่เรียนจบอำนวยศิลป์ก็หยุดเช่าพระไปพักหนึ่ง เพราะต้องไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ผมกลับมาปี 2533 ก็มาช่วยที่บ้านทำธุรกิจเครื่องประดับ ประมาณปี 2535 ก็ไปหาลูกค้าที่มาบุญครอง บังเอิญไปก่อนเวลา ไปยืนฟังเค้าคุยเรื่องพระเครื่องก็ทำให้ผมจุดประกายขึ้นมาอีกหนึ่งรอบ เพราะผมชอบพระเครื่องอยู่แล้วเลยไปซื้อหนังสือมาดูมาอ่านอีก"
จากนั้น เซียนจิ๋ว เริ่มซื้อเก็บจากเซียนพระเครื่องบาง ทีก็เช่าเองจากแผงทั่วไป "แท้บ้างเก๊บ้างเพราะยังดูไม่ขาด! ที่แท้ๆ ก็ไม่สวย แต่ที่เก๊ก็มีไม่เยอะ กระทั่งปี 2538 ผมมีโอกาสได้รู้จักกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักสะสมเซียนพระ ชื่อดัง ท่านก็สอนผมให้คำแนะนำผมมาโดยตลอด ผมขอเช่าพระเครื่องดีๆ สวยๆ ท่านก็ไม่ปล่อย ผมก็ไปมาหาสู่อยู่เป็นปีเพราะผมรู้สึกว่าถ้าไม่ได้ครอบครองก็ไม่เกิด ประโยชน์ ก็เลยได้พระเครื่องจากท่านมาพอสมควร ภายหลังเริ่มเข้าสนามพระ มีพรรคพวกในวงการพระเครื่องบ้าง หรือบางทีก็เช่ามาจากร้านเพชรที่รู้จักกันบ้าง"
นับตั้งแต่ปี 2538 มาถึงปี 2551 เซียนจิ๋ว ซื้อเก็บอย่างเดียว จากหลักหมื่นเป็นหลักแสนเป็นหลักล้าน ตลอด 13 ปี เซียนจิ๋ว เก็บสะสมกระทั่งล้น บางองค์เบื่อ จึงปรึกษากับเพื่อน คือ "อ๊อด เลี่ยมทอง" ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง?
ปี 2551 เซียนจิ๋ว เปิดศูนย์พระเครื่องจุฬามณีขึ้น ที่ถนนเฟื่องนครใกล้สี่แยกสี่กั๊กพระยาศรี ซึ่งติดกับร้านมณีพันธ์จิวเวลรี่ที่ทำธุรกิจอยู่ สามารถบริหารดูแลลูกค้าเพชรกับลูกค้าพระโดยไม่มีปัญหา และก็เปิดที่นี่ที่เดียวไม่มีสาขาที่ไหน
ปัจจุบันพระเครื่องได้รับความนิยม มีการเล่นหาและสะสมกันเป็นจำนวนมาก แต่พระเครื่องที่นิยมเล่นหาโดดเด่นที่สุด นอกจากพระเครื่องในตระกูลเบญจภาคี ย่อมหนีไม่พ้นพระหลวงปู่ทวด เซียนพระหลวงปู่ทวดภาคใต้จึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีเซียนจิ๋วรวมอยู่ด้วย
เซียนจิ๋ว ให้ความศรัทธาและถือว่าเป็นอันดับหนึ่ง คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เพราะเคยมีประสบการณ์จากการขอพรจากหลวงปู่ทวด เซียนจิ๋ว เป็นคนหนึ่งที่เดินทางลงภาคใต้เป็นประจำ ได้ยินได้ฟังเรื่องของหลวงปู่ทวดมาตลอด ไปกราบขอพรที่ จ.ปัตตานี
"ผมมีธุรกิจส่วนตัวของผมอยู่แล้ว และทุกครั้งที่ผมลงไปกราบขอพรท่าน ไม่มีครั้งไหนเลยที่ผมไม่ได้ตามที่ขอ ผมสมหวังประสบความสำเร็จทุกครั้ง จึงให้ความนับถือหลวงปู่ทวดมาโดยตลอด"
หลักในการศึกษาพระเครื่อง เซียนจิ๋ว บอกว่า การศึกษานั่นหมายถึงการอ่าน ดู ฟัง ถาม และต้องถามผู้ที่รู้จริง เหมือนนักมวยต้องมีเทรนเนอร์ เล่นพระก็ต้องมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ เหมือนตอนแรกเล่นปนกันหมด ได้เข้ามาก็ไม่สวย ดังนั้นต้องมีที่ปรึกษาที่ดี
ส่วนหลักในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการดำเนินชีวิต เซียนจิ๋วกล่าวว่า "คนมีมันก็หมดได้... คนหมดมันก็มีได้ ฉะนั้นอย่าดูถูกคน กับการอ่อนน้อมถ่อมตนมีสัมมาคารวะ ไปที่ไหนก็จะมีแต่มิตรภาพดีๆ"
สำหรับนักนิยมสะสมพระเครื่องที่ต้องการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ที่มีโอกาสพบปะ "เซียนจิ๋ว" สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ สำหรับจิ๋ว จุฬามณี ยินดีต้อนรับทุกท่าน
"จิ๋ว จุฬามณี" เซียนพระนักสะสมพระเครื่องตัวจริง และนักธุรกิจจิวเวลรี่ ปัจจุบันเป็น เซียนพระควบคู่กันไป
เซียนจิ๋ว บอกเล่าว่า "จุดเริ่มต้นของผมในวงการพระเครื่อง คือ ย้อนไปประมาณปี"28 ตอนนั้นเรียนอยู่อำนวยศิลป์ ม.6 ผมก็เริ่ม เช่าเก็บแล้ว องค์แรก คือ หลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส แม้ผมจะชอบ แต่ก็ดูไม่เป็น แต่อาศัยอ่านจากหนังสือตำราต่างๆ จากนั้นก็เอาไปให้คนที่เป็นพระเครื่องดูเค้าก็บอกว่าแท้... เราก็รู้สึกดีก็เก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ"
"ตอนแรกผมไม่ใช่นักเล่นพระ "ผมเป็นนักสะสมพระเครื่อง" หลังจากที่เรียนจบอำนวยศิลป์ก็หยุดเช่าพระไปพักหนึ่ง เพราะต้องไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ผมกลับมาปี 2533 ก็มาช่วยที่บ้านทำธุรกิจเครื่องประดับ ประมาณปี 2535 ก็ไปหาลูกค้าที่มาบุญครอง บังเอิญไปก่อนเวลา ไปยืนฟังเค้าคุยเรื่องพระเครื่องก็ทำให้ผมจุดประกายขึ้นมาอีกหนึ่งรอบ เพราะผมชอบพระเครื่องอยู่แล้วเลยไปซื้อหนังสือมาดูมาอ่านอีก"
จากนั้น เซียนจิ๋ว เริ่มซื้อเก็บจากเซียนพระเครื่องบาง ทีก็เช่าเองจากแผงทั่วไป "แท้บ้างเก๊บ้างเพราะยังดูไม่ขาด! ที่แท้ๆ ก็ไม่สวย แต่ที่เก๊ก็มีไม่เยอะ กระทั่งปี 2538 ผมมีโอกาสได้รู้จักกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักสะสมเซียนพระ ชื่อดัง ท่านก็สอนผมให้คำแนะนำผมมาโดยตลอด ผมขอเช่าพระเครื่องดีๆ สวยๆ ท่านก็ไม่ปล่อย ผมก็ไปมาหาสู่อยู่เป็นปีเพราะผมรู้สึกว่าถ้าไม่ได้ครอบครองก็ไม่เกิด ประโยชน์ ก็เลยได้พระเครื่องจากท่านมาพอสมควร ภายหลังเริ่มเข้าสนามพระ มีพรรคพวกในวงการพระเครื่องบ้าง หรือบางทีก็เช่ามาจากร้านเพชรที่รู้จักกันบ้าง"
นับตั้งแต่ปี 2538 มาถึงปี 2551 เซียนจิ๋ว ซื้อเก็บอย่างเดียว จากหลักหมื่นเป็นหลักแสนเป็นหลักล้าน ตลอด 13 ปี เซียนจิ๋ว เก็บสะสมกระทั่งล้น บางองค์เบื่อ จึงปรึกษากับเพื่อน คือ "อ๊อด เลี่ยมทอง" ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง?
ปี 2551 เซียนจิ๋ว เปิดศูนย์พระเครื่องจุฬามณีขึ้น ที่ถนนเฟื่องนครใกล้สี่แยกสี่กั๊กพระยาศรี ซึ่งติดกับร้านมณีพันธ์จิวเวลรี่ที่ทำธุรกิจอยู่ สามารถบริหารดูแลลูกค้าเพชรกับลูกค้าพระโดยไม่มีปัญหา และก็เปิดที่นี่ที่เดียวไม่มีสาขาที่ไหน
ปัจจุบันพระเครื่องได้รับความนิยม มีการเล่นหาและสะสมกันเป็นจำนวนมาก แต่พระเครื่องที่นิยมเล่นหาโดดเด่นที่สุด นอกจากพระเครื่องในตระกูลเบญจภาคี ย่อมหนีไม่พ้นพระหลวงปู่ทวด เซียนพระหลวงปู่ทวดภาคใต้จึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีเซียนจิ๋วรวมอยู่ด้วย
เซียนจิ๋ว ให้ความศรัทธาและถือว่าเป็นอันดับหนึ่ง คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เพราะเคยมีประสบการณ์จากการขอพรจากหลวงปู่ทวด เซียนจิ๋ว เป็นคนหนึ่งที่เดินทางลงภาคใต้เป็นประจำ ได้ยินได้ฟังเรื่องของหลวงปู่ทวดมาตลอด ไปกราบขอพรที่ จ.ปัตตานี
"ผมมีธุรกิจส่วนตัวของผมอยู่แล้ว และทุกครั้งที่ผมลงไปกราบขอพรท่าน ไม่มีครั้งไหนเลยที่ผมไม่ได้ตามที่ขอ ผมสมหวังประสบความสำเร็จทุกครั้ง จึงให้ความนับถือหลวงปู่ทวดมาโดยตลอด"
หลักในการศึกษาพระเครื่อง เซียนจิ๋ว บอกว่า การศึกษานั่นหมายถึงการอ่าน ดู ฟัง ถาม และต้องถามผู้ที่รู้จริง เหมือนนักมวยต้องมีเทรนเนอร์ เล่นพระก็ต้องมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ เหมือนตอนแรกเล่นปนกันหมด ได้เข้ามาก็ไม่สวย ดังนั้นต้องมีที่ปรึกษาที่ดี
ส่วนหลักในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการดำเนินชีวิต เซียนจิ๋วกล่าวว่า "คนมีมันก็หมดได้... คนหมดมันก็มีได้ ฉะนั้นอย่าดูถูกคน กับการอ่อนน้อมถ่อมตนมีสัมมาคารวะ ไปที่ไหนก็จะมีแต่มิตรภาพดีๆ"
สำหรับนักนิยมสะสมพระเครื่องที่ต้องการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ที่มีโอกาสพบปะ "เซียนจิ๋ว" สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ สำหรับจิ๋ว จุฬามณี ยินดีต้อนรับทุกท่าน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น